- ประวัติศาสตร์ บ้านคีรีวง
ชุมชนคีรีวงได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้มากว่า ๒๐๐ ปีแล้ว ในอดีต ชุมชนนี้เรียกว่า “บ้านขุนน้ำ” เนื่องเพราะว่าชุมชนตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณต้นน้ำของเขาหลวง อันเป็นส่วนหนึ่งเทือกเขานครศรีธรรมราช ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านคีรีวง” ตามชื่อวัดที่สร้างขึ้นมา ซึ่งมีความหมายว่า “บ้านที่อยู่ภายในวงล้อม(วง) ของภูเขา (คีรี)” จากการสนทนากับกลุ่มผู้อาวุโสในชุมชนคีรีวง เพื่อค้นหาประวัติความเป็นมาของการตั้งถิ่นฐาน พบว่ามีเรื่องเล่าเกี่ยวกับบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งชุมชนอยู่หลายแบบด้วยกัน คือก. การหนี “สัก” จากเมืองนครศรีธรรมราช ในสมัยอดีตนั้น คนไทยชั้นล่างหรือผู้ถูกปกครองทุกคนต้องขึ้นอยู่กับเจ้านายผู้ปกครอง และจะต้อง “สัก” ว่าขึ้นอยู่กับเจ้านายคนไหน ทำให้กลุ่มคนบางกลุ่มที่ไม่ต้องการเป็นไพร่ได้หนีเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตป่า ที่ทุรกันดารและยากต่อการค้นหา และบรรพบุรุษของชาวคีรีวงก็เป็นกลุ่มคนดังกล่าวข้างต้น โดยบางกลุ่มถึงกับหนีไปอาศัยอยู่บริเวณต้นน้ำของคลองปง
ข. การเข้ามาสร้างวัดของคน “ย่านยาว” กลุ่มผู้อาวุโสเล่าให้ฟังว่าชาวบ้านจากบ้านย่านยาวได้เข้ามาหาเชือกเพื่อนำ ไปทำ “นบชักปลา” และได้มาเจอเจดีย์เก่า ชาวบ้านย่านยาวจึงได้ตั้งถิ่นฐานและสร้างวัดขึ้นบริเวณนั้น
ค. การหนีเข้ามาอยู่ป่าพร้อมกับพระพุทธรูป เกิดขึ้นในสมัยที่ทางกรุงเทพฯ ได้ขอพระพุทธรูปสิหิงค์จากเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ทำให้ชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้นำพระพุทธรูปฯ มาซ่อนไว้ในชุมชนคีรีวง
ง. การเป็นทหารผ่านศึกแล้วได้รับการปูนบำเหน็จ เป็นกลุ่มทหารที่ไปรบที่เมืองไทรบุรี เมื่อรบชนะข้าศึก ทางบ้านเมืองจึงได้ปูนบำเหน็จ โดยการมอบผู้หญิงมุสลิมให้เป็นภรรยาและมอบที่ดินบริเวณชุมชนคีรีวงให้กว่า ๔๐๐ ไร่
จ. การหนี “สัก” จากพม่า ในสมัยที่พม่าได้เข้ามายึดครองเมืองไทย และได้จับคนไปเป็นเชลยโดยการทำการ “สัก” หน้าเชลยเป็นเครื่องหมายไว้ จึงได้มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งหนีการ “สัก” ขึ้นมาอยู่บริเวณชุมชนคีรีวงปัจจุบัน (นัยนา ทองศรีเกตุ, ๒๕๔๕) จากเรื่องเล่าของกลุ่มผู้อาวุโสถึงสมัยยุคเริ่มแรกของการตั้งถิ่นฐานดัง กล่าวข้างต้น ประกอบกับการสืบค้นตระกูลของกลุ่มผู้ก่อตั้งชุมชน ซึ่งบางคนก็บอกว่ามีอยู่ ๗ ตระกูล และบางคนก็บอกว่ามีมากกว่า ๗ ตระกูล นั้น อาจสันนิษฐานได้ว่ามีการอพยพโยกย้ายเข้ามาอาศัยอยู่เป็นระยะๆ ของคนกลุ่มต่างๆ ไม่ใช่การอพยพมาอาศัยอยู่พร้อมกัน
หมู่บ้านคีรีวง หมายความว่าหมู่บ้านที่รายล้อมด้วยภูเขาเป็นที่เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นตามชื่อ วัดประจำท้องถิ่นคือวัดคีรีวงนั่นเอง เดิมหมู่บ้านคีรีวงมีชื่อว่า “บ้านขุนน้ำ” เพราะที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ใกล้กับต้นน้ำจากยอดเขาหลวง บนเทือกเขานครศรีธรรมราช ด้วยเหตุนี้จึงมีลำคลองไหลผ่านหมู่บ้านหลายสายด้วยกัน แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 สายเท่านั้นเนื่องจากลำคลองบางสายได้ตื้นเขินลงไป ลำคลองทั้ง 3 สาย ได้แก่ คลองปง คลองท่าหา และคลองท่าชาย ลำคลองทั้งสามไหลมาบรรจบรวมกันที่หน้าหมู่บ้านมีชื่อว่า “คลองท่าดี” ซึ่งเดิมมีชื่อว่า คลองขุนน้ำ โดยเปลี่ยนชื่อเป็นคลองท่าดีหลังจากเกิดอุทกภัยในปี พ.ศ. 2531 โดยกรมชลประทาน แต่ผู้สูงอายุลาวบ้านยังคงเรียกคลองขุนน้ำจนถึงปัจจุบัน คลองท่าดีเป็นลำคลองขนาดใหญ่ที่สุดซญึ่งไหลลงทะเลที่บ้านปากนครและปากพนัง ชาวบ้านจึงใช้เป็นเส้นทางในการคมนาคมข่นส่งโดยใช้เรือเหนือเป็นพาหนะในการ เดินทาง และใชเรือเหนือในการบรรทุกผลม้และพืชสวนต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น มังคุด เงาะ ทุเรียน สะตอ และหมาก เพื่อไปแลกเปลี่ยนกับข้าวสาร เกลือ กะปิ และอาหารทะเลอื่น ๆ กับชาวอำเภอหัวไทรและชาวอำเภอปากพนังโดยชาวคีรีวงเรียกพวกเขาว่า “พวกนอก”และเรียกตัวเองว่า ”พวกเหนือ” จากการติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันจนเกิดคำเรียนขานใหม่ว่า “เกลอเขา เกลเล”
หมู่บ้านคีรีวงมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ พืชพันธ์ต่างๆ สามารถเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงประกอบอาชีพทำสวนผลไมซึ่งเรียกว่า “สวนสมรม” แต่เดิมมีชื่อว่า สวนอาสินสวนสมรมคือสวนที่ปลูกผลไม้และผักหลายๆชนิดในพื้นที่เดียวกันซึ่ง บ่งบอกถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวคีรีวงสวนสมรมมีควาเก่าแก่กว่าหลาย รอยล้านปีโดยมีการสันณิษฐานกันว่ามีการทำสวนสมรมมาตั้งแต่บรรพชน
หมู่บ้านคีรีวงเป็นหมู่บ้านอันเก่าแก่ซึ่งแต่เดิมมีอยู่เพียง 20 หลังคาเรือนและปัจจุบันได้ขยายเป็น 700 กว่าหลังคาเรือนหลักฐานการก่อสร้างหมู่บานนั้นยังไม่ชัดเจนมีการสันณิษฐาน ไว้ 3 สาเหตุด้วยกัน ดังนี้
1.จากกลุ่มคนที่หนีจากโรคระบาดหรือไข้ทรพิษจากในตังเมืองนคร
2.จากกลุ่มคนที่พยายามอพยพจากในตังเมืองมาประกอบอาชีพและตั้งรกรากขึ้น
3.จากกลุ่มคนที่รักอิสระจึงไดรวมตัวกันก่อตั้งหมู่บ้านขึ้น
1.จากกลุ่มคนที่หนีจากโรคระบาดหรือไข้ทรพิษจากในตังเมืองนคร
2.จากกลุ่มคนที่พยายามอพยพจากในตังเมืองมาประกอบอาชีพและตั้งรกรากขึ้น
3.จากกลุ่มคนที่รักอิสระจึงไดรวมตัวกันก่อตั้งหมู่บ้านขึ้น